search

BA1

11/15/2553

การสร้างโปรแกรม

โครงสร้างของโปรแกรมจะประกอบไปด้วยตัวเลขและตัวอักษรลักษณะการทำงานของโปรแกรมจะทำเป็นบรรทัดหรือเป็นบล็อกทีละบรรทัดที่ละบล็อกตามลำดับจากบนลงล่างคอนโทรลเลอร์มาตรฐาน จึงกำหนดให้มีหลายเลขของบรรทัดหรือบล็อก ก็คือ N แล้วตามด้วยหมายเลข คอนโทรลเลอร์ในปัจจุบันส่วนมากไม่ต้องกำหนดหมายเลขบล็อกก็ได้แต่ก็มีคอนโทรลเลอร์บางรุ่นจำเป็นต้องกำหนด
รูปโครงสร้างของโปรแกรมและลักษณะของบรรทัดหรือบล็อก

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม

สัญลักษณ์
ความหมาย

N
หมายเลขบรรทัด โดยปกติจะกำหนดให้เริ่มต้นบรรทัดที่ 5,10 หรือบรรทัดที่ 10,20..... เหตุผลที่ทิ้งช่วงบรรทัดเช่นนี้ เพื่อว่าในกรณีที่ต้องการเพิ่มเติมขั้นตอนการทำงาน จะได้ป้อนโปรแกรมแทรกไว้ได้ เหตุผลที่ต้องกำหนดหมายเลขบรรทัด เพราะให้เรารู้ว่าเครื่องทำงานไปถึงบรรทัดไหนแล้ว หากโปรแกรมผิดจะได้แก้ไขได้สะดวกขึ้น

G
คำสั่งควบคุมการเคลื่อนที่ของเครื่องมือ

X

ระบบโคออดิเนต เป็นการกำหนดระยะทางหรือ
ตำแหน่งที่เครื่องมือ จะต้องเคลื่อนที่ไป
Y
Z
F (Feed)
อัตราป้อนโดยปกติอัตราป้อนในงานกัดจะมีหน่วยเป็น มม./นาที

S (Speed)
ความเร็วรอบ มีหน่วยเป็น รอบ/นาที ในการป้อนโปรแกรม ความเร็วรอบ (N) จะแทนด้วย (S)

T (Tools)
เป็นคำสั่งที่ใช้เลือกทูล ซึ่งการทำงานส่วนมากจำเป็นจะต้องใช้หลายทูลเราสามารถเซตทูลไว้ล่วงหน้าและเลือกมาใช้งานได้ โดยเลือกเป็นหมายเลข เช่น T1 , T2  แทนดอกสว่าน , End millเครื่องมือตัด เช่น มีดกัด ดอกสว่าน ดอกผายปาก ดอกเจาะนำศูนย์

M
คำสั่งเพิ่มเติม ที่ใช้สั่งทำงานเสริมจากคำสั่ง G เช่น สั่งให้เปิด ปิดน้ำหล่อเย็น ปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ ซึ่งโดยมากแต่ละคอนโทรลจะไม่เหมือนกันคำสั่ง M ส่วนใหญ่ที่ทำงานเหมือนกัน เช่น M00 , M01 , M03 , M04 , M05 , M06





ตัวอักษรตามมาตรฐาน ในระบบควบคุม FANUC

ตัวอักษร
ความหมาย
A
การหมุนรอบแกน X
B
การหมุนรอบแกน Y
C
การหมุนรอบแกน Z
D
คำสั่งเลือกใช้ชดเชยขนาดรัศมีทูล
E
อัตราป้อนรอง
F
อัตราการป้อน
G
คำสั่งควบคุมการเคลื่อนที่
H
การชดเชยขนาด ความยาวเครื่องมือ
I
พารามิเตอร์การแทนที่ขนานกับแกน X
J
พารามิเตอร์การแทนที่ขนานกับแกน Y
K
พารามิเตอร์การแทนที่ขนานกับแกน Z
L
จำนวนรอบครั้งในการเรียกโปรแกรมย่อย
M
การทำงานเสริม
N
ใช้นำหน้าหมายเลขของบรรทัด
O
ใช้นำหน้าชื่อโปรแกรม ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลข
P
ใช้นำหน้าชื่อโปรแกรม ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลข
Q
การกำหนดระยะการเจาะต่อครั้ง
R
กำหนดค่ารัศมีของการเดินเป็นส่วนโค้ง (G02 , G03) และใช้กำหนดตำแหน่งอ้างอิงตามแนว Zในงานเจาะ
S
ความเร็วรอบของเพลางาน
T
เครื่องมือ คำสั่งเลือกทูล
U
การเคลื่อนที่ขนาดกับแกน X แนวที่ 2
V
การเคลื่อนที่ขนาดกับแกน Y แนวที่ 2
W
การเคลื่อนที่ขนาดกับแกน Z แนวที่ 2
X
การเคลื่อนที่ในแนวแกน X
Y
การเคลื่อนที่ในแนวแกน Y
Z
การเคลื่อนที่ในแนวแกน Z


...

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8/02/2555

    อยากได้การใช้โปรแกรมทั้งเล่ม

    ตอบลบ