search

BA1

11/15/2553

โค้ดในแต่ละเวิร์ด





โค้ดในแต่ละเวิร์ดนั้นนอกเหนือจาก G-Code และ M-Code แล้ว ยังมีโค้ดอื่น ๆ อีก ซึ่งประกอบไปด้วย
  1. เลขที่บล็อก (Block Number , Sequence Number) : N
เลขที่บล็อกหรือลำดับคำสั่งต่าง ๆ จะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร N และตามด้วยตัวเลข(0 ถึง 9) ซึ่งจำนวนตัวเลขจะมี 3 ตัว (N001-N999) และในปัจจุบันนั้น คอนโทรลเลอร์สามารถกำหนดตัวเลขได้ถึง 5 ตัว (N00001-N99999) หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถรองรับโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ๆ ที่ทำมาจากโปรแกรมซอฟท์แวร์ CAD/CAM (Computer Aided Design/Computer Aided Manufacturing) และในการกำหนดเลขที่บล็อกควรจะเริ่มที
ละ 5 หรือ 10 บล็อก เช่น N05, N10, N15…… หรือเพิ่มขึ้นครั้งละ 10 เช่น N10, N20, N30…… ไม่ควรที่จะเพิ่มครั้งละ 1,2,3,4,5….. เพราะว่าเวลาแก้ไขตัวโปรแกรมหรือแทรกบล็อกจะทำให้ไม่มีปัญหา แต่ในคอนโทรลเลอร์บางรุ่น เลขที่บล็อกไม่จำเป็นจะต้องกำหนดทุกบรรทัดก็ได้ แต่จะกำหนดเฉพาะบล็อกที่ใช้อ้างอิงในโปรแกรมย่อย หรือ Subprogram หรือการทำวัฏจักรของโปรแกรม ดังนั้นจึงควรศึกษาคู่มือการทำโปรแกรมของแต่ละคอนโทรลเลอร์หรือแต่ละรุ่นอีกที่หนึ่ง

ตำแหน่ง หรือ ระยะทาง (Dimension) : X Y Z
ในการเคลื่อนที่ของทูลนั้นไม่ว่าจะเป็นแนวเส้นตรงหรือแนวเส้นโค้ง สามารถที่จะระบุโดยใช้เป็นตัวเลข (0 ถึง 9) โดยมีเครื่องหมาย + หรือ – นำหน้าตัวเลขเพื่อใช้บอกทิศทางในการเคลื่อนที่ตามแนวแกนนั้น ๆ เช่น G00, X50.0, Z50.0 หรือ G01, X25.0, Z-50.0 เป็นต้น
คอนโทรลเลอร์ส่วนมากจะป้อนค่าตัวเลขได้ 4 หลัก และจุดทศนิยม 3 ตำแหน่ง เช่น ± X 9999.999 มิลลิเมตร แต่โดยทั่ว ๆ ไปนั้นแนวแกนในการเคลื่อนที่จะถูกจำกัดด้วยขนาดของโต๊ะงานหรือขนาดของเครื่องจักร ดังนั้น การเคลื่อนที่จริงของแนวแกนจึงเคลื่อนที่ได้น้อยกว่า ส่วนกรณีที่ใช้เป็นนิ้ว จุดทศนิยมที่ใช้จะมี 4 ตำแหน่ง เช่น Z-1.0254 นิ้ว และบางคอนโทรลเลอร์อาจจะมีตัวเลขถึง 5 หลัก ฉะนั้นผู้ใช้จะต้องศึกษาในคู่มือการใช้เครื่องจักรกล CNC อีกครั้งหนึ่ง

ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของวงกลม
G-Code ที่ใช้คือ G02, G03 และตำแหน่งของจุดศูนย์ของวงกลมและจุดศูนย์กลางส่วนโค้งของวงกลมจะใช้โคออร์ดิเนต I, J และ K ในการบอกตำแหน่งจะใช้ตัวเลขบอกตำแหน่งในการเคลื่อนที่โดยที่ I จะขนานกับแกน X, J จะขนานกับแกน Y และ K จะขนานกับแกน Z แต่บางคอนโทรลเลอร์อาจจะบอกเป็นค่ารัศมี (R) ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคอนโทรลเลอร์บางรุ่นที่ใช้ต้องศึกษาในคู่มือของเครื่องอีกครั้งหนึ่ง

ความเร็วสปินเดิล (Spindle Speed) : S
ใช้ตัวอักษร S และตามด้วยตัวเลข เช่น S 2500 หมายถึง ความเร็วรอบของสปินเดิลหมุน 2,500 รอบ/นาที (rpm หรือ rev/min), ความเร็วสปินเดิลนิยมเรียกว่า สปีด (Speed)
ความเร็วตัด (Cutting Speed) หรือความเร็วผิว (Surface Speed) โดยที่ค่าความเร็วตัดสามารถป้อนโดยใช้โค้ด V เช่น G96 V 350 คือ ความเร็วตัดคงที่ ที่ 350 เมตร/นาที (m/min) แต่ความเร็วรอบสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นงานขณะกลึง และงานที่มีควรใช้ G96 เช่น งานกลึงเกลียว งานเจาะ และงานคว้านรู โดยที่หน่วยของความเร็วฟีดสามารถกำหนดได้ดังนี้

1)  มิลลิเมตร/นาที (mm/min) หรือนิ้ว/นาที (inch/min) คำสั่งที่ใช้คือ G94 ใช้สำหรับงานกัด และงานเจาะ
2)  มิลลิเมตร/รอบ (mm/rev) หรือนิ้ว/รอบ (inch/rev) คำสั่งที่ใช้คือ G95 ใช้สำหรับงานกลึง

ใช้ตัวอักษร T และตามด้วยตัวเลข เช่น T0101 หรือ T1 โดยทั่วไปจะใช้ร่วมกับโค้ดในการเปลี่ยนทูล M06 เช่น M06 T0303 หรือ M06 T3 เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น