4.1.1 เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่มีความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลายลักษณะ นิยมใช้ในโรงงานทั่ว ๆ ไป
4.1.1 เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่น จับมีดกลึงปากหน้า มีดกลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว การบู๊ช เป็นต้น
4.1.2 เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสื้อสูบ เป็นต้น
เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe)
เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในการปาดหน้าชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น ล้อรถไฟ เป็นต้น
4.1 ส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึงยันศูนย์
4.1.1 ชุดหัวเครื่องกลึง (Head Stock)
ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่อง ใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนด้วยความเร็วรอบต่าง ๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
4.1.1.1 ชุดส่งกำลัง (Transmission) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) โดยส่งกำลังผ่านสายพานลิ่ม (V-Belt) และผ่านชุดเฟือง (Gear) mสามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่าง ๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน (Spindle) ให้หมุน
สำหรับเครื่องกลึงรุ่นเก่าจะปรับความเร็วรอบของเพลาหัวจับงานโดยใช้ล้อสายพาน (Pulley) ที่มีหลายขั้น ซึ่งแต่ละขั้นจะให้ความเร็วรอบแตกต่างกัน
4.1.1.1 ชุดเฟืองทด (Gears) ใช้ทดความเร็วรอบในการกลึงมี 2 ชุด คือ ชุดที่อยู่ภายในหัวเครื่องและชุดที่อยู่ภายนอกหัวเครื่องกลึง ดังภาพที่ 4.9
4.1.1.1 แขนปรับความเร็วรอบ (Spindle Speed Selector) เป็นแขนที่อยู่ส่วนบนหรือส่วนหน้าของเครื่องใช้สำหรับโยกเฟืองที่อยู่ภายในหัวเครื่องให้ขบกันเพื่อให้ได้ความเร็วรอบต่าง ๆ ตามต้องการ
4.1.1.1 แขนปรับกลึงเกลียว (Lead Screw and Thread Rang Level) เป็นแขนสำหรับปรับเฟืองในชุดกล่องเฟือง (Gear Box) เพื่อกลึงเกลียวโดยที่เพลากลึงเกลียวหมุนขับป้อมมีดให้เดินกลึงเกลียวบนชิ้นงาน
4.1.1.1 ชุดเพลาหัวเครื่องกลึง (Spindle) มีลักษณะรูปทรงกระบอกเจาะรูกลวงตลอดด้านหน้าจะเป็นรูเรียวแบบมอร์สเพื่อใช้ประกอบกับหัวศูนย์ เพลาหัวเครื่องกลึงใช้จับกับหัวจับเครื่องกลึง มี 4 แบบ คือเพลาหัวเครื่องกลึงแบบเกลียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบเรียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบลูกเบี้ยว และเพลาหัวเครื่องกลึงแบบสกรูร้อย ดังภาพที่ 4.14-4.18
ภาพที่ 4.14 แสดงชุดเพลาหัวเครื่อง
4.1.1 ชุดแท่นเลื่อน (Carriage)
ชุดแท่นเลื่อน เป็นส่วนประกอบที่ใช้ควบคุมและรองรับเครื่องมือตัดเพื่อให้เครื่องมือตัดของเครื่องกลึงเลื่อนไป-มาในทิศทางตามแนวยาวหรือตามขวางของสะพานแท่นเครื่อง ชุดแท่นเลื่อนมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชุดแคร่คร่อม (Saddle) และชุดกล่องเฟือง (Apron) ดังภาพที่ 3.6
1. แคร่คร่อม (Saddle) เป็นส่วนที่อยู่บนสะพานแท่นเครื่อง (Bed) เพื่อรองรับชุดป้อมมีด และชุดกล่องเฟือง แคร่คร่อมสามารถเลื่อนไป-มาในแนวนอน ซึ่งใช้ในงานกลึงปอก
2. แท่นเลื่อนขวาง (Cross Slide) เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแคร่คร่อม สามารถเลื่อนไป-มาด้วยสกรู ใช้ในการกลึงปาดหน้า หรือป้อนลึก
3. แท่นเลื่อนบน (Compound Rest) เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นปรับองศา สามารถเลื่อนไป-มา ด้วยชุดสกรู ใช้ในการกลึงเรียว (Taper) หรือกลึงมุมต่าง ๆ หรือใช้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับแท่นเลื่อนขวาง
ที่ปรับองศา เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นเลื่อนขวางและอยู่ใต้แท่นเลื่อนบน สามารถปรับเป็นองศาต่าง ๆ
4.1.1 ชุดกล่องเฟือง (APRON)
ประกอบด้วยเฟืองทด ใช้ในกรณีกลึงอัตโนมัติ ชุดกล่องเฟืองประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังรูปที่ 4.20
1. มือหมุนแท่นเลื่อน (Traversing Hand Wheel) ใช้สำหรับหมุนชุดแท่นเลื่อนให้เคลื่อนที่ในแนวซ้าย – ขวา
2. แขนโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ (Fed Selector) ใช้สำหรับโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ
3. แขนโยกกลึงเกลียว (Lead screw Engagement Lever) ใช้สำหรับโยกกลึงเกลียว
4. ปุ่มดึงสำหรับกลึงเกลียว (Controls Forward or Reverse) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนชุดเฟืองกลึงเกลียว
5. ปุ่มดึงสำหรับกลึงปอกผิวอัตโนมัติ (Feed Lever) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนทิศทางการเดินป้อนอัตโนมัติของแท่นเลื่อนขวางหน้าหลัง
ภาพที่ 4.21 ส่วนประกอบชุดกล่องเฟือง
4.1.1 ป้อมมีด (Tool Post)
เป็นส่วนที่อยู่บนสุดใช้จับยึดมีดกลึง มีดคว้าน สำหรับกลึงงานป้อมมีดมีหลายชนิด เช่น ชนิดมาตรฐาน (Standard-type Lathe Tool Post) ชนิดสะพาน 4 มีด (Four-way Turret Tool Post) และชนิดสะพานมีดทางเดียว เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น